ไฟร์วอลล์และการเข้ารหัสข้อมูล

                              

Firewall คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของ Firewall มีอะไรบ้าง


Firewall คืออะไร
Firewall คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ (อ่านว่า ไฟร์วอลล์) ไม่ให้ถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีหรือการสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมถึงเครือข่าย LAN ด้วย ซึ่งในปัจจุบัน Firewall มีทั้งอุปกรณ์ที่เป็น Hardware และ Software
Firewall
หน้าที่ของ Firewall มีอะไรบ้าง
เมื่อเรามีระบบ Firewall ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับการสร้างกำแพงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเหลือประตูทางเข้าไว้เป็นทางผ่านของข้อมูลต่างๆจากเครือข่ายอื่น และตรงประตูนั้นจะมียามคอยรักษาการณ์อยู่คอยทำหน้าที่ตรวจสอบการเชื่อมต่อต่างๆให้เป็นไปตามกฏ ซึ่ง Firewall จะเป็นตัวกรองข้อมูลว่า ข้อมูลชนิดนี้คือ ใคร (Source) ตัวข้อมูลต้องการจะไปที่ไหน (Destination) และข้อมูลชิ้นนี้จะบริการอะไรหรือทำอะไร (Service/Port) ถ้ารู้สึกว่าข้อมูลไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงที่จะมาทำความเสียหาย Firewall ก็จะทำหน้าที่กันไม่ให้ข้อมูลเข้าไปได้
ประโยชน์ของ Firewall
เมื่อเราทราบแล้วว่า Firewall คืออะไร ลักษณะการทำงานเป็นแบบไหน ต่อมาเราจะมาพูดถึงประโยชน์ของเจ้าตัว Firewall กันต่อไปครับ ประโยชน์ของ Firewall ก็คือ ป้องกันว่าข้อมูลที่จะส่งผ่านนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับกฏต่างๆที่ทางผู้ใช้งาน (administrator) ได้กำหนดไว้ หากไม่ผ่านกฎเพียงข้อเดียว Firewall ก็จะไม่ให้ผ่านเข้าไปเลย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใช้งานเองด้วย ถ้าหากข้อมูลไม่ปลอดภัยแต่ผู้ใช้งานอนุญาตให้ผ่านเข้ามาได้ Firewall ก็จะปล่อยเข้ามา
เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตกันได้มากขึ้น ก็เหมือนกับการไปอยู่ในโลกกว้าง เราอาจจะไม่รู้จักกับคนทุกคน เว็บไซต์ทุกเว็บไซต์ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะสร้างกำแพงป้องกันตัวของเราเอาไว้สักนิด Firewall จึงเป็นด่านหน้าที่กรองผู้ไม่ประสงค์ดีได้ส่วนหนึ่ง เพื่อไม่ให้พวกนั้นสามารถเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์และสร้างความเสียหายได้นั่นเอง


แหล่งที่มา  https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/firewall/     




                         การเข้ารหัสข้อมูล





การเข้ารหัสข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูล ข้อมูลนั้นจะถูกเปิดอ่านโดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หลักการของการเข้ารหัสข้อมูลคือแปลงข้อมูล (encrypt) ไปอยู่ในรูปของข้อมูลที่ไม่สามารถอ่านได้โดยตรง ข้อมูลจะถูกถอดกลับด้วยกระบวนการถอดรหัส (decryption) ดังรูปที่ 1



รูปที่ 1 การเข้ารหัสข้อมูล
ข้อมูลที่สามารถอ่านได้ เรียกว่า plain text หรือ clear text ข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วเราเรียกว่า cipher text ข้อมูลเมื่อเสร็จสิ้นการเข้ารหัสแล้ว ผลที่ได้ก็คือ cipher text ในการอ่านข้อความ cipher text นั้น การเข้ารหัสแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1. Symmetric Cryptography (Secret key)
หรือบางทีอาจเรียกว่า Single-key algorithm หรือ one-key algorithm คือ การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสตัวเดียวกัน คือ ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีกุญแจรหัสที่เหมือนกันเพื่อใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัส ดังรูปที่ 2


รูปที่ 2 Symmetric Cryptography


2. Asymmetric Cryptography (Public key)
การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสคนละตัวกัน การส่งจะมีกุญแจรหัสตัวหนึ่งในการเข้ารหัส และผู้รับก็จะมีกุญแจรหัสอีกตัวหนึ่งเพื่อใช้ในการถอดรหัส ผู้ใช้รายหนึ่งๆจึงมีกุญแจรหัส 2 ค่าเสมอคือ กุญแจสาธารณะ (public key) และ กุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้จะประกาศให้ผู้อื่นทราบถึงกุญแจสาธารณะของตนเองเพื่อให้นำไปใช้ในการเข้ารหัสและส่งข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วมาให้ ข้อมูลที่เข้ารหัสดังกล่าวจะถูกถอดออกได้โดยกุญแจส่วนตัวเท่านั้น ดังรูปที่ 3


รูปที่ 3 Asymmetric Cryptography

ในทางปฏิบัติแล้วมักมีการใช้การเข้ารัหสทั้งสองระบบร่วมกันเช่นในระบบ PGP (Pretty Good Privacy) ซึ่งใช้ในการเข้ารหัส E-mail จะใช้วิธีสร้าง session key ซึ่งเป็นรหัสลับตามแบบ secret key) เมื่อข้อมูลถูกเข้ารหัสด้วย session key แล้ว จากนั้น session key จะถูกเข้ารหัสโดยใช้กุญแจสาธารณะของผู้รับ และถูกส่งไปกับข้อมูลที่เข้ารหัสแล้ว ดังรูปที่ 4



รูปที่ 4 การเข้ารหัสข้อมูล
การถอดรหัสนั้นทำในทางตรงกันข้าม ผู้รับจะใช้กูญแจส่วนตัวในการได้คืนมาของ session key ซึ่งหลังจากนั้นจึงนำ session key มาถอดรหัสข้อมูลอีกขั้นหนึ่ง ดังรูปที่ 5



รูปที่ 5 การถอดรหัส
การรวมกันของวิธีการเข้ารหัสสองวิธีเป็นการรวมความสะดวกของการเข้ารหัสแบบสาธารณะกับความเร็วในการเข้ารหัสแบบทั่วไป เนื่องจากการเข้ารหัสแบบทั่วไปเร็วกว่าการเข้ารหัสแบบสาธารณะประมาณ 1000 เท่า แต่การเข้ารหัสแบบสาธารณะมีข้อดีในเรื่องวิธีแจกจ่ายรหัส ดังนั้นจึงนิยมใช้การเข้ารกัสข้อมูลซึ่งมีขนาดใหญ่ด้วยวิธีการเข้ารหัสแบบทั่วไป และใช้ของการเข้ารหัสแบบสาธารณะสำหรับการส่งกุญแจของการเข้ารหัสแบบทั่วไป


แหล่งที่มา   https://www.ku.ac.th/e-magazine/august44/it/encryp.html

ความคิดเห็น